โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)
โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่แพทย์วินิจฉัยมากที่สุดโรคหนึ่ง[2][3]และเป็นโรคที่ยังเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ทั่วโลก[4][5]ในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว คนอเมริกันเกิดโรค 17.6 ล้านคนทุกปี หรือในอัตราประชากร 1 ใน 6คนไข้ซึมเศร้าเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคเบาหวานประเภท 2, โรคหลอดเลือดหัวใจ และการฆ่าตัวตายอีกภายใน 20 ปีข้างหน้า โรคซึมเศร้าคาดว่าจะเป็นเหตุความพิการเป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นอันดับแรกในประเทศที่มีรายได้สูงรวมทั้งสหรัฐอเมริกาในบางถิ่น 75% ของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ บุคคลนั้นได้ไปหาแพทย์ภายในปีหนึ่งก่อนที่จะเสียชีวิต และ 45-66% ภายในเดือนก่อนเสียชีวิตแต่เพียง 33-41% ได้ติดต่อกับบริการทางสุขภาพจิตภายในปีหนึ่ง และ 20% ภายในเดือนหนึ่ง[6][7][8][9][10]มีอาการทางจิตเวชและทางการแพทย์หลายอย่างที่เหมือนอาการบางอย่างหรือทั้งหมดของโรคซึมเศร้า หรืออาจจะเกิดร่วมกันกับโรค[11][12][13]การวินิจฉัยโรคไม่ว่าจะเป็นทางจิตเวชหรือทางการแพทย์ทั่วไปที่มีอาการและลักษณะเหมือนกับของอีกโรคหนึ่ง และอาจจะเป็นสาเหตุจริง ๆ ของอาการที่ปรากฏเรียกว่า การวินิจฉัยแยกโรค[14](อังกฤษ: differential diagnosis)[15]โรคจิตเวชหลายอย่างเช่นโรคซึมเศร้าบางครั้งจะวินิจฉัยโดยผู้ทำการที่ไม่ได้ฝึกหัดเพียงพอ[16]และวินิจฉัยอาศัยอาการที่ปรากฏโดยไม่พิจารณาเหตุที่เป็นมูล และบ่อยครั้งไม่ได้วินิจฉัยแยกโรคอย่างเพียงพอ[17][18][19][20][21][22]ตามงานศึกษางานหนึ่ง "ผู้ที่ให้บริการสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์อาจเสี่ยงสูงขึ้นต่อการไม่รู้จักความเจ็บป่วยที่อำพรางในคนไข้ของตน"[23]การวินิจฉัยผิดพลาดอาจทำให้ไม่ได้การรักษา ได้การรักษาที่ไม่มีผล หรือได้การรักษาที่เป็นอันตรายเพราะอาจทำโรคที่เป็นเหตุให้แย่ลง[24][25]ค่าประเมินอย่างต่ำก็คือ 10% ของอาการโรคจิตอาจมาจากเหตุการแพทย์อื่น ๆ[26]และมีงานศึกษาหนึ่งที่เสนอว่า 50% ของคนที่ป่วยทางจิตขั้นหนัก "มีภาวะทางการแพทย์ทั่วไปที่โดยมากไม่ได้วินิจฉัยและไม่ได้รักษา และอาจเป็นเหตุต่อหรือทำอาการทางจิตเวชให้แย่ลง"[27][28]มีรายงานข่าวบทความหนึ่งในนิตยสารรายสัปดาห์ Newsweek ที่ผู้เขียนได้การรักษาโรคซึมเศร้าเป็นปี ๆและใน 10 ปีสุดท้าย อาการของเธอก็แย่ลง มีผลเป็นการพยายามฆ่าตัวตายและเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวชหลายครั้งในที่สุดเมื่อมีการสร้างภาพทางสมองด้วย MRI ก็พบว่ามีเนื้องอกในสมองก้อนหนึ่งแต่ประสาทแพทย์บอกเธอว่าไม่ใช่เนื้อร้ายแต่หลังจากที่อาการแย่ลง และหลังจากพบประสาทแพทย์อีกคนหนึ่ง เธอก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออกและหลังจากการผ่าตัดนั้น เธอก็ไม่มีอาการ "โรคซึมเศร้า" อีกต่อไป[29]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) http://www.neurosono.com.br/arquivos/1155473343.pd... http://www.cnsspectrums.com/aspx/articledetail.asp... http://www.emedicine.com/emerg/topic865.htm http://emedicine.medscape.com/article/123223-overv... http://emedicine.medscape.com/article/805459-overv... http://www.medscape.com/viewarticle/582125 http://www.medscape.com/viewarticle/723266 http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://www.merriam-webster.com/dictionary/differen... http://www.newsweek.com/2007/11/21/the-demon-in-my...